เตรียมต้นลำไย
1 เดือนก่อนราดสาร
1. 1 เดือนก่อนราดสาร เราจะใช้ 8-24-24 ทางดิน เพื่อสะสมอาหารในใบให้เต็มที่ และใช้ 0-52-34 ใช้ช่วงเดียวกันฉีดพ่นทางใบ
โดยจะต้องให้เหลือวันที่ปุ๋ย 0-52-34 หมดฤทธิ์ก่อน ประมาณ 15
วันก่อนราดสารลำย เพื่อช่วยให้ใบอ่อนที่มีอยู่แก่เร็วขึ้น
และแก่พร้อมๆ กันทั้งสวน และช่วยป้องกันยอดใบใหม่ไม่ให้แทงออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว
บางคนอาจใส่แม๊กนิเซียมลงไป เพื่อช่วยให้ใบเขียวขึ้นก็ทำได้
แต่ธาตุพวกนี้มีประจุบวก อาจทำให้ปุ๋ยเกิดการจับตัว และตกตะกอนได้
2. ช่วงก่อนการชักนำการออกดอก ด้วยการราดสารลำไย(โพแทสเซียมคลอเรต) ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้เกิดกระบวนการปิดกั้นการดูดซึมของราก สารลำไย(โพแทสเซียมคลอเรต)
ส่วนหนึ่งจะขึ้นไปถึงปลายยอด กระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนที่จะสร้างตาออก
ฮอร์โมนส่วนหนึ่งจะกลับไปสู่รากเพื่อกระตุ้นให้เกิดรากฝอยชุดใหม่
หลังจากราดสารทางดินไปแล้ว 5-7 วันให้พ่นสารทางใบอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้ทุกๆ ยอดได้รับสารลำไย ในการให้ทางใบครั้งแรกหากใบบิดหนีแสงถือว่าใช้ได้
ก็ไม่จำเป็นต้องให้สารพ่นทางใบครั้งที่ 2
แต่ถ้าวันรุ่งขึ้นหลังจากที่ให้ครั้งแรก
ใบยังไม่บิด ก็ให้สารพ่นทางใบ ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หลังการพ่นสารทางใบ เราจะใช้ 0-52-34 ให้ฉีดพ่นทางใบอีก 1-2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ใช้ในวันที่ 5 และหากอยู่ในเงื่อนไขฤดูกาล
เราจะพ่นครั้งที่ 2 ในวันที่ 10) นับจากวันพ่นสารทางใบเสร็จสิ้น
คุณลักษณะปุ๋ย 0-52-34 นี้ จะทำให้ยอดลำไยหยุดการพัฒนาเนื้อเยื้อเจริญที่จะเป็นตาใบ
และเริ่มสะสมสารอาหารที่ใบ ทำให้ใบอ่อน ใบแก่เขียวเข้ม แก่เสมอกัน
แต่หากให้ 0-52-34 ในปริมาณน้ำหนัก หรือจำนวนครั้งมากกว่านี้ จะทำให้เกิดภาวะอั้นยอดได้..
การใช้ 0-52-34 มีข้อจำกัดว่าถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนอากาศร้อนจัดให้ใช้เพียงครั้งเดียว
ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนตกไม่หนักให้ใช้ได้ 1 ครั้ง ถ้าฝนตกหนักต้องให้ 2 ครั้ง
แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว หนาวไม่มาก ให้ใช้ 1 ครั้ง.. ถ้าหนาวจัด ไม่ต้องให้
(เพราะธรรมชาติจะทำหน้าที่แทน 0-52-34 ซึ่งลำไยจะออกดอกเอง)
อัตราส่วนการให้อยู่ที่ 10% ของการใช้ปกติคือ 500 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือ 100 กรัม/น้ำ
200 ลิตร
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นนี้ ถือว่าผ่านการการสารลำไย
ทางดินมาแล้ว 8-13 วัน
3. เมื่อราดสารลำไยไปแล้ว รากฝอยของลำไยจะถูกทำลาย และบางส่วนถูกรบกวนการดูดซึมธาตุอาหาร
ทำให้ไม่สามารถดูซึมแร่ธาตุขึ้นไปได้อย่างสะดวก ปลายยอดลำไยที่ได้รับสารลำไยโพแทสเซียมคลอเรส
จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอก
ฮอร์โมนส่วนหนึ่งจะถูกส่งกลับไปที่ราก เพื่อให้สร้างรากฝอยใหม่
ดังนั้นหลังจากให้ 0-52-34 ไปแล้ว 3 วัน
เราจะใช้ปุ๋ยสูตร 10-52-17 ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ทางใบ
เพื่อช่วยกระตุ้นให้เสมือนว่าต้นลำไย
ยังคงมีกระบวนการดูดซึมธาตุอาหารของรากฝอยอยู่ คือใช้ (10) ส่วน (52-17) ยังคงใช้เพื่อบำรุงดอก และป้องกันการแตกใบอ่อน
ทำให้เกิดภาวะอั้นดอกชั่วระยะหนึ่ง เช่นเดียวกันกับในข้อที่ 2 คือเสมือนว่าต้นไม้ยังคงมีการดูดซึมธาตุอาหารของรากฝอยอยู่
โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียม(K) ตัวท้ายสุด (17) จะช่วยในช่วงที่งดน้ำ ด้วยการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารได้ ส่งผลให้ต้นลำสามารถเคลื่อนอาหารที่มีอยู่ในใบ
นำไปสร้างเป็นตาดอกแทน แต่ให้ใช้ครั้งเดียว ถ้าใช้มากยอดออกจะอั้น
ไม่ยอมออกดอก หรือถ้าออกมา ก็จะทำให้ยอดสั้น บางยอดอาจจะแดง และแห้งตายไปเลย
เมื่อถึงช่วงนี้.. จะผ่านการราดสารลำไย
นับจากการเริ่มราดสารลำไย ทางดินมาแล้ว 11-16
วัน แล้ว
จากนั้นอีกประมาณ 10-15 วัน ยอดดอกจะออกมา กรณีราดสารลำไย เมื่อใบแก่จัด ยอดแรกจะได้ใบอ่อนก่อน
จากนั้นยอดที่ 2 จะเป็นยอดดอก
ถึงวันนี้จะรวมเวลา 35-40
วัน
แต่ถ้าราดสารในช่วงใบเพสลาด ยอดแรกที่ได้
จะเป็นยอดดอก
ถึงวันนี้ จะรวมเวลา 25-30 วัน
4. เมื่อช่อดอกลำไยแทงออกมาได้ระยะหนึ่งแล้ว (ราว 10 วัน) ถ้าเป็นการทำลำไยในฤดู ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว เราจะใช้ 25-7-7 เพื่อให้เกิดกระบวนการยืดตัวของช่อดอกออกไป แม้ว่าจะไม่ค่อยมีน้ำ
แต่โพแทสเซียมในปุ๋ยดังกล่าวจะช่วยนำพาธาตุอาหารด้วยวิธีการถ่ายเทประจุบวก (โพแทสเซียมไอออน)
นำพาธาตุอาหารให้เคลื่อนที่ไปได้ แม้ว่าน้ำจะมีน้อย
แต่ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องให้ 25-7-7 เดี๋ยวจะได้ใบกางร่ม แทรกดอก
แต่ถ้าเป็นการทำลำไยนอกฤดู หากเกษตรกรทำลำไยในช่วงฤดูฝน
(กล่าวคือ.. ราดสารลำไยประมาณเดือนพฤษภาคม- สิงหาคม) ซึ่งขณะนั้นยังมีฝนชุกอยู่
ก็ให้ใช้ 5-25-30 ผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มจิ๊บเบอเลอลิน
และฮอร์โมนไซโตไคนิน และแคลเซียม+โบรอน จะช่วยทำให้ลำไยยืดช่อดอกยาวออกไปได้อีก และช่วยให้เกิดโครงสร้างกิ่งก้านด้านข้างของช่อดอกจำนวนมาก
ทำให้เกิดตุ่มดอกลำไยเพิ่มขึ้นได้
5. เมื่อช่อดอกยืดตัวเต็มที่ และเกิดมีตุ่มดอกปริมาณมากพอแล้ว เราก็จะใช้ 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรด) ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ทางใบ ที่มีคุณสมบัติใช้ทดแทนปุ๋ยโพแทสเซียม ใช้กระตุ้นดอกลำไย ให้ใช้ พ่นให้บางๆ และเบามากๆ
แต่ถ้าฝนตก อากาศไม่ร้อน ก็ไม่ต้องใช้ และอย่าใช้ เข้มข้น
หรือใช้บ่อยมาก จะทำให้ยอดดอกจะชงัก หยุดการเจริญเติบโต หรือถ้าแรงไปจะทำให้ใบ
และดอกลำไยร่วงได้ ถ้าไม่คุ้นเคยกับการใช้..ไม่แนะนำให้ใช้
ช่วงนี้...ก่อนที่ดอกลำไยจะเริ่มบาน
เราจะใช้ยากำจัดแมลงในกลุ่มดูดซึม คือ "อิมิดาคลอพิต" (แบบซอง 1 ซอง/น้ำ 200 ลิตร
หรือ 5 ซองต่อน้ำ/1000 ลิตร) ผสมน้ำฉีดเป็นละอองที่ช่อดอก
เพื่อป้องกันหน่อนเจาะขั่วดอกมาดูดน้ำเลี้ยงดอกลำไย ทำให้ดอกลำไยหลุดร่วงได้ และควรพ่นก่อนดอกบานเท่านั้น
ถ้าดอกบานแล้ว พ่นไม่ได้ พวกแมลงผึ้ง หรือชันโรงจะตาย หรือบินหนีไป ทำให้ดอกลำไยไม่ได้รับการผสมเกสร
ธาตุอาหาร แคลเซียม และโบรอน
เป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เมื่อลำไยขาดธาตุทั้งสองนี้ จึงไม่สามารถถ่ายเทธาตุอาหารที่สะสมในใบแก่ของลำไยมาสู่ยอดใบอ่อนได้
ดังนั้นทุกๆ ครั้ง.. ในการพ่นปุ๋ยทางใบ
จึงควรให้ธาตุเหล่านี้เสมอ ธาตุแคลเซี่ยมจะช่วยให้โครงสร้างของต้นไม้แข็งแรง
โบรอนจะช่วยทำให้โครงสร้างมีการยืดหยุ่น
และช่วยในการจัดเรียงโมเลกุลของเซลล์เนื้อเยื้อ
6. เมื่อดอกลำไยบาน
เราจะหยุดการพ่นสารทางใบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือฮอร์โมนทางใบ ทุกประเภท
เพื่อให้แมลงผสมเกสรได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติ
7. หลังจากดอกบานเต็มที่แล้ว ให้ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำ อัตราส่วนประมาณ 10 ลิตร/น้ำเปล่า 1,000 ลิตร (ห้ามผสมร่วมกับยากำจัดแมลง หรือยากำจัดเชื้อราโดยเด็ดขาด
เพราะจุลินทรีย์ใน "จุลินชีพชีวภาพ" จะตายหมด)
ให้ฉีดพ่นเฉพาะบริเวณใต้ทรงพุ่มเท่านั้น ห้ามฉีดขึ้นทรงพุ่มลำไยโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เราเคยราด
หรือพ่นสารฯ รอบทรงพุ่ม ให้ฉีดเยอะๆ หน่อย
เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่สูญสลายไปจากการใช้สารราดลำไย (ในภาษาของการตลาด เขาเรียกว่า "การล้างสารพิษ"
จุลินทรีย์ใน "จุลินชีพชีวภาพ"
จะช่วยกำจัดสารราดลำไย ที่มีอยู่ตกค้างภายในดินให้สูญสลายไป
ซึ่งจะช่วยให้รากลำไยสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น และต้นลำใย
จะไม่แทงตาดอกออกมาแทรกอีก ทุกกระบวนการการให้ปุ๋ยทางใบ ไม่แนะนำให้ใช้ยาจับใบ
เนื่องจากยาจะมีคุณสมบัติเป็นเมือกลื่นๆ เหนียวๆ ซึ่งจะปิดปากใบ
ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซืมของใบลดลง
หมายเหตุ
การพ่นธาตุอาหารทางใบทุกประเภท
ต้องพ่นใต้ใบ เพราะปากใบอยู่ใต้ใบ
ไม่ได้อยู่ด้านหน้าใบ ปุ๋ยทางดิน นำมาผสมกับน้ำพ่นทางใบ ทำได้ แต่ไม่ควรทำ ให้ปุ๋ยทางดิน
อย่าลืมรดน้ำตามเสมอ